Categories
E-Commerce บล็อค

การออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified

การออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  DBD Verified
การออกเครื่องหมาย DBD Verified เป็นเครื่องหมายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ประสงค์จะได้รับเครื่องหมาย DBD Verified โดยจดทะเบียนและมีคุณสมบัติ ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และแสดงว่าเว็บไซต์นั้น ๆ มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานคุณภาพธุรกิจ e-Commerce ของกรมฯ

คุณสมบัติของผู้ขอเครื่องหมาย DBD Verified
– เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
– จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และได้รับเครื่องหมาย DBD Registered   มาไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาไม่น้อยกว่า 2 ปี
– เป็นเจ้าของโดเมนเนม
– ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้เครื่องหมายรับรอง
– ไม่เคยถูกเพิกถอนการใช้เครื่องหมายรับรอง เว้นแต่ถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ด้านการเปิดเผยข้อมูล
2. ด้านวิธีการยกเลิกหรือคืนสินค้า และวิธีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า
3. ด้านความปลอดภัย
4. ความเป็นส่วนตัว
5. การแก้ปัญหาข้อร้องเรียนและการระงับข้อพิพาท
*คู่มือการประเมินธุรกิจตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจ

สถานที่การขอเครื่องหมาย DBD Verified  ณ สำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 02 547 5961 หรือที่เว็บไซต์ www.trustmarkthai.com หรือติดต่อที่อีเมล์ dbd-verified@dbd.go.th

เอกสารที่ใช้ขอเครื่องหมาย DBD Verified  ได้แก่ สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค. 0403)

ประโยชน์ของเครื่องหมาย DBD Verified
– ได้รับความน่าเชื่อถือว่าเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานในการปฏิบัติงานและดำเนินธุรกิจที่ดี
– ส่งเสริมภาพลักษณ์และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ
– สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า/บริการในการขยายโอกาสสู่ตลาดต่างประเทศ
– สร้างโอกาสทางการตลาด/การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ/ช่องทางต่าง ๆ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
– มั่นใจได้ว่า ซื้อสินค้า/บริการจากเว็บไซต์ที่มีตัวตนเชื่อถือได้ และผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจ e-Commerce ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด
– หากมีข้อพิพาท หรือประสบปัญหา สามารถติดต่อร้องเรียนมายังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหานั้น
*ข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมาย DBD Verified

หมายเหตุ
1. เมื่อผ่านเกณฑ์การพิจาณา กรมฯ จะจัดส่ง Source Codeให้ผู้ประกอบการ ทางอีเมล์ ที่ระบุในการจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับเครื่องหมาย ต้องแสดงหนังสืออนุญาตไว้ ณ สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ที่เห็นได้ง่าย และแสดงเครื่องหมายรับรองไว้บนหน้าแรกของเว็บไซต์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต
2. เครื่องหมาย DBD Verified มีอายุ 1 ปี ซึ่งผู้ประกอบการที่ต้องการได้รับการรับรองมาตรฐาน จะต้องทำการขอต่ออายุทุกปี

Categories
E-Commerce บล็อค

การออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียน DBD Registered

การออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  DBD Registered

การออกเครื่องหมาย DBD Registered เป็นเครื่องหมายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่จดทะเบียนพาณิชย์และประสงค์จะได้รับเครื่องหมาย DBD Registered  เพื่อรับรองความมีตัวตนและการจดทะเบียนพาณิชย์ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภคระดับหนึ่ง

เกณฑ์การให้เครื่องหมาย DBD Registered
1. ผู้ขอใช้เครื่องหมาย จะต้องเป็นเจ้าของเว็บไซต์และ/หรือมีโดเมนเมนเป็นของตนเอง
2. เว็บไซต์จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ถูกต้องตามกฎหมาย
3. เว็บไซต์จะต้องแสดงข้อมูล รายละเอียดเจ้าของเว็บไซต์ ที่ตั้งสำนักงาน หมายเลขโทรศัพท์และโทรศัพท์มือถือ พร้อมช่องทางร้องเรียนการซื้อขายและส่งมอบสินค้า/บริการ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ หรือเมนู Contact Us
4. สินค้า/บริการที่จะนำขึ้นขายบนช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
5. สินค้าหรือบริการ จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
6. การนำเสนอสินค้าหรือบริการ จะต้องมีความชัดเจน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น ชนิดของสินค้า ราคา วิธีการชำระค่าสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
7. จะต้องมีนโยบายดูแล/บริการลูกค้าหลังการขาย ที่แสดงไว้บนหน้าเว็บไซต์อย่างชัดเจน

สถานที่การขอเครื่องหมาย DBD Registered
สำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 02 547 5960  หรือที่เว็บไซต์ www.trustmarkthai.com หรือส่งเอกสารมาที่อีเมล์ e-commerce@dbd.go.th   หรือ โทรสาร 02 547 5973

เอกสารที่ใช้ขอเครื่องหมาย DBD Registered
1. สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค. 0403)
2. สำเนารายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์  (เอกสารแนบแบบ ทพ.)
3. สำเนาเอกสารการจดโดเมนเนม

ประโยชน์ของเครื่องหมาย DBD Registered
1. สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซต์เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. สร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ เมื่อเห็นเครื่องหมาย DBD Registered
3. การได้รับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เช่น อบรม สัมมนา ออกบูธงานต่าง ๆ และ รับข่าวสารด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4. สิทธิในการขอรับเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (DBD verified) ให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนด
ข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครืองหมาย DBD Registered

หมายเหตุ  เมื่อผ่านเกณฑ์การพิจาณา กรมฯ จะจัดส่ง Source Codeให้ผู้ประกอบการ ทางอีเมล์ ที่ระบุในการจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งนี้ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง ต้องแสดงเครื่องหมายรับรองไว้บนหน้าแรกของเว็บไซต์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้น

Categories
E-Commerce บล็อค

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ทำไมต้องจดทะเบียน

 

กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มและขยายช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดความน่า เชื่อถือของผู้ประกอบการ ทำให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจ เพราะไม่สามารถรู้หรือทราบได้ว่าผู้ประกอบการเป็นใคร อยู่ที่ไหน กรณีมีปัญหาหรือข้อพิพาทต่าง ๆ ไม่สามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้

 

ดังนั้น จะเห็นว่า ความเชื่อถือและเชื่อมั่นดังกล่าว ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การที่จะช่วยกระตุ้นให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความแพร่หลายในประเทศไทย เกิดการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น จะต้องมีการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการตัดสินใจทำธุรกรรมพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถานประกอบการตั้ง อยู่ในประเทศไทย ต้องมา จดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่า ผู้ประกอบการมี ตัวตนจริงหรือไม่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไรบ้าง

 

ประโยชน์ของการจดทะเบียน

  1. สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมฯ จะจัดทำเลขทะเบียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องหมาย Registered) จัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการ (ส่งทางe-Mail ในรูปแบบ Source Code) เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้ จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย Registered แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อ click ที่เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเชื่อมโยงมายังฐานข้อมูลกรมฯ และแสดงข้อมูลทางทะเบียนของผู้ประกอบการ เพื่อให้ ประชาชนสามารถตรวจสอบสถานะและการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้
  2. กรมฯ จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่ขึ้นทะเบียน มาจัดทำเป็นฐานข้อมูล แยกตามประเภทธุรกิจ (www.dbd.go.th/edirectory) นำไปเผยแพร่แก่ผู้ประกอบการและประชาชนผู้สนใจผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง
  3. ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่อง หมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) จากกรมฯ ได้ ซึ่งเครื่องหมาย Trustmark นี้จะมีความ น่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย Registered กล่าวคือ จะออกให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมฯ กำหนด เท่านั้น เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ (www.trustmarkthai.com)
  4. การได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

 

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด และนิติบุคคลต่างประเทศ ที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ซึ่งประกอบกิจการอันเป็นพาณิชยกิจ ทั้ง 4 ข้อ ดังนี้
1.การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. การบริการอินเทอร์เน็ต
3.การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เช่น www.asiawebpro.com
4. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

สถานที่การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขต กทม. ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ณ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขต 50 เขต (รับบริการจดทะเบียนพาณิชย์เฉพาะสถานประกอบการที่มีสำนักงานเขตตั้งอยู่ในท้องที่ของตน)  หรือ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง ศาลาว่าการ กทม. (ครอบคลุมทั้ง 50 เขตของ กทม.)
2. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจาก กทม. ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ณ เมืองพัทยา  เทศบาล  องค์การบริหารส่วนตำบล ที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดเฉพาะในท้องที่นอกเขตเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล

เอกสารที่ใช้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
2. แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)
3. รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์  (เอกสารแนบ แบบ ทพ.)  กรอก 1 ใบ ต่อ 1 เว็บไซต์ (ตัวอย่างการกรอก เอกสารแนบ แบบ ทพ.)
4. เอกสารการจดโดเมนเนม (ชื่อผู้จดทะเบียนโดเมนเนม ต้องเป็นชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์)
5. Print หน้าแรกของเว็บไซต์
6. วาดแผนที่ตั้งการประกอบพาณิชยกิจ
7. หนังสือรับรองการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (กรณีจดในนามนิติบุคคล)
8. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)

กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมิได้เจ้าบ้าน (เอกสารเพิ่มเติม)
1. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่หรือสัญญาเช่า
2. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของสถานที่ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน หรือเอกสารสิทธิ์ที่แสดงว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ เข้ามาตั้งสาขาดำเนินกิจการในประเทศไทย ให้แนบเอกสารเพิ่มเติม
1. สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล
2. หนังสือแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการในประเทศไทย
2.1 ใบอนุญาตทำงาน (กรณีผู้ดำเนินกิจการเป็นคนต่างด้าว)
2.2 ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือหนังสือรับรองการใช้สิทธิ (ถ้ามี)

*** ตัวอย่างใบทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

วิธีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เสียค่าใช้จ่าย 50 บาทตลอดชีพ ผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนและเตรียมเอกสารหลักฐานได้ดังราย ละเอียดตามนี้

เอกสารประกอบการจดทะเบียน

 

1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบ)

2. สำเนาบัตรประจำตัว

– กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

– กรณีนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)

3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

4. หนังสือชี้แจง (กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด)